วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อุตสาหกรรมส่งออกอาหารสัตว์

อุตสาหกรรมอาหารสัตว์
                    อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสัตว์ เนื่องจากเป็นโครงสร้างต้นทุนของการเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญ และทั้ง 2 อุตสาหกรรมจะมีความเชื่อมโยงด้านการเติบโตที่สอดคล้องกัน หากอุตสาหกรรมแปรรูปขยายตัวดี ก็จะมีความต้องการวัตถุดิบเพิ่มขึ้น อาหารสัตว์ก็จะมีความต้องการมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นการผลิตอาหารสัตว์บางประเภทยังใช้วัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารในบางประเภท ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยรวมแก่อุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างครบวงจร อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงอาหารสัตว์ที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรมจะมีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้และประเภทของสัตว์ แต่วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ที่สำคัญจะมีเพียงไม่กี่รายการ ต่างกันที่สูตรส่วนผสมเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมกับสัตว์แต่ละช่วงวัยและสายพันธุ์เท่านั้น วัตถุดิบเกษตรที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง ปลาป่น กระดูกป่น มันสำปะหลังอัดเม็ด ฯโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทยประกอบด้วยผู้ผลิต 712 ราย เป็นผู้ผลิตขนาดใหญ่ที่มีโรงงานย่อยกระจายตามแหล่งเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญ 23 ราย แต่เป็นผู้ผลิตที่ครองส่วนแบ่งตลาดอาหารสัตว์เกือบทั้งประเทศ สำหรับผู้ผลิตขนาดเล็กจะเป็นลักษณะการแปรรูปวัตถุดิบเบื้องต้นและส่งขายให้โรงงานขนาดใหญ่อีกทอดหนึ่ง
โครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทย ปี 2551

ที่มา : กรมโรงงาน, 11 ม.ค. 2551
ผลิตภัณฑ์หลัก

                    การจำแนกผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์แบ่งตามสัตว์เศรษฐกิจ ที่สำคัญ ได้แก่ 1) อาหารสัตว์บก เช่น อาหารไก่เนื้อ อาหารไก่ไข่ อาหารเป็ด อาหารสุกร อาหารโคเนื้อและโคนม 2) อาหารสัตว์น้ำ เช่น อาหารกุ้ง อาหารปลา และอาหารสัตว์เลี้ยง หรือจำแนกตามลักษณะของอาหารอาจแบ่งได้เป็น อาหารข้น(concentrate) อาหารหยาบ(roughage) อาหารสำเร็จ(complete feed) อาหารเม็ด (pellet) อาหารแตกเป็นเสียง(crumble feed) อาหารป่น(mass feed) อาหารผสมล่วงหน้า(premix) อาหารผสมสำเร็จรูป(total mix rations) วัตถุเติมอาหารสัตว์(feed additives)
วัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิดประเทศไทยยังผลิตได้ไม่เพียงพอต้องพึ่งพาการนำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ กากถั่วเหลือง พรีมิกซ์ กากเมล็ดพืชน้ำมัน เช่น คาโนล่า โคลซ่า ถั่วลิสง กากเหลือจากการผลิตสตาร์ช เป็นต้น ในปี 2551 ไทยนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์และอาหารสัตว์สำเร็จรูปอื่นๆ ปริมาณ 3,243.3 พันตัน มูลค่า 52,067.15 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มเขึ้นร้อยละ 5.47 และ 52.55 ตามลำดับ การที่มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นในระดับสูงเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติอาหารโลกและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารสัตว์เป็นพืชน้ำมัน
                    ทั้งนี้ ไทยมีการส่งออกอาหารสัตว์ด้วยเช่นกัน โดยผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลังอัดเม็ด เพลเลต อาหารสุนัขหรือแมว ปลากระป๋องสำหรับสัตว์เลี้ยง อาหารสำเร็จรูปสำหรับกุ้ง กากของเหลือจากการผลิตสตาร์ช-มันสำปะหลัง ในปี 2551 ไทยส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์และอาหารสัตว์สำเร็จรูป ปริมาณ 3,735.2 พันตัน มูลค่า 43,578.83 ล้านบาท ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 30.45 ส่วนมูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.03 เนื่องจากปริมาณส่งออกมันสำปะหลังลดลงค่อนข้างมาก เพราะในประเทศมีความต้องการสูงทั้งเพื่อการผลิตเอทานอล แปรรูปเป็นแป้ง และอาหารสัตว์ ขณะที่การส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงมีทิศทางที่ดีมีความต้องการจากตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ
สภาวะการผลิต
                    สถาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในปี 2551 ที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในสภาพที่เติบโตดี อัตราการใช้กำลังการผลิตสูงสุดเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 63.54 สูงกว่า 2 ปีที่ผ่านมาเล็กน้อย และเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 60-70 ตลอดทุกเดือน อย่างไรก้ตามการผลิตอาหารกุ้งมีแนวโน้มชะลอตัวลงช่วงสิ้นปีเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในหลายพื้นที่เกษตรกรหยุดเลี้ยง และตลาดส่งออกที่ชะลอตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก อุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีแนวโน้มการขยายโรงงานเพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์และอาหารโปรตีนของคนไทยและตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ที่มีการผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่ระดับฟาร์มเลี้ยงไปถึงการแปรรูปอาหารเพื่อส่งออก
ภาพรวมตลาดอาหารสัตว์ ปี 2551 ความต้องการโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 11.3 ล้านตัน แบ่งเป็นอาหารสุกร 4.4 ล้านตัน อาหารไก่เนื้อ 4 ล้านตัน อาหารไก่ไข่ 1.5 ล้านตัน อาหารหมวดอื่นๆ (อาหารโค อาหารสัตว์น้ำ) 1.4 ล้านตัน ปีหน้าความต้องการโดยรวมจะลดลงประมาณ 1 ล้านตัน โดยราคาจะลดลงตามต้นทุนของวัตถุดิบที่ราคาลดลง และปริมาณลดลงตามความต้องการใช้ของภาคปศุสัตว์และสัตว์น้ำที่ชะลอตัว

อัตราการใช้กำลังการผลิตสูงสุดของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูป (ร้อยละ)
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปัญหาอุปสรรคทางการค้า

1.   วัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศไม่เพียงพอ ต้องพึ่งพาการนำเข้าบางส่วน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
2.    อาหารสัตว์เป็นสินค้าควบคุมราคา ทำให้การปรับเปลี่ยนตามกลไกตลาดเป็นไปได้ช้า
3.    ผู้ผลิตรายใหญ่มีการแข่งขันทางการตลาดในประเทศสูงมาก รายเล็กๆมีโอกาสเติบโตต่ำ
      4.      ประเทศผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากไทยมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ มีการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับและเริ่มเพิ่มความเข้มงวดด้านสุขอนามัยอาหารสัตว์มากขึ้น เช่น การกำหนดปริมาณสูงสุดของสารผสมในอาหารสัตว์
สถิติการค้าอาหารสัตว์ที่สำคัญของไทยปี 2551

การนำเข้า
 
รายการ
ปริมาณ(ตัน)
มูลค่า(ล้านบาท)
% change ปริมาณ
% change มูลค่า
กากถั่วเหลือง
2193219.7
3420.26
4.22
59.34
พรีมิกซ์อาหารเสริม
112237.53
3308.99
-15.17
21.72
อาหารสัตว์อื่นๆ(HS 2309909000)
80054.26
3113.76
14.15
33.17
กากเมล็ดคาโนล่า
250203.45
2544.75
8.23
64.42
เนื้อสัตว์หรือส่วนอื่นที่ป่น ทำเป็นเพลเลต
163,001.67
2524.85
38.88
71.81
รวมทั้งสิ้น
3243303.32
52067.15
5.47
52.55
ที่มา : ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมศุลกากร)
              
การส่งออก
รายการ
ปริมาณ(ตัน)
มูลค่า(ล้านบาท)
% change ปริมาณ
% change มูลค่า
มันสำปะหลังอัดเม็ด
1564074.44
8681.13
-5.25
20.64
ปลากระป๋องสำหรับสัตว์เลี้ยง
99393.56
7800.44
15.91
28.65
อาหารสุนัขหรือแมวเพื่อ การขายปลีก
98769.08
7418.41
38.21
37.8
มันสำปะหลังเพลเลต
1202462.89
6539.8
-55.09
-41.27
อาหารสุนัขหรือแมวเพื่อ การขายปลีก-มีเนื้อสัตว์
70524.03
4318.06
-7.58
2.82
อาหารกุ้งสำเร็จรูป
43896.59
1693.45
4.03
11.6
รวมทั้งหมด
3735174.02
43578.83
-30.45
0.03
ที่มา : ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมศุลกากร)
ตลาดส่งออกมันสำปะหลังอาหารสัตว์ที่สำคัญของไทยปี 2551
ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงที่สำคัญของไทยปี 2551
การวิเคราะห์ SWOT
               1. จุดแข็ง
                         ด้านสังคม 
-          ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดินฟ้า อากาศ สภาพแวดล้อมเหมาะแก่การทำการเกษตร
-     กสิกรรมอยู่ในสายเลือดของคนไทย นิสัยคนไทยเป็นชาวพุทธรู้จักให้อภัย มีหลักยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นที่รวมศูนย์จิตใจคนไทย
                         ด้านเศรษฐกิจ
-     ที่ตั้งของประเทศไทย ใกล้ตลาดสำคัญของโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ฯลฯ มีทางออกสู่ตลาดโลกในภูมิภาคต่าง
               2. จุดอ่อน
                         ปัญหาด้านการผลิต
-     ขาดวิชาการและเทคโนโลยีในประเด็นของความครบถ้วนทั้งวงจร เช่นเปลี่ยนเกษตรกรรมในเชิงเกษตรผสมผสานไปสู่พืชเชิงเดี่ยว โดยขาดความเข้าใจถึงผลเสียของพืชเชิงเดี่ยวที่มีผลต่อระบบนิเวศน์ และพื้นฐานการดำรงชีวิต และทำให้เกิดหนี้สินตามมามากมาย  เนื่องจากผู้ส่งเสริมที่ทำหน้าที่เป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ไม่เข้าใจวิธีคิดในเชิงธุรกิจ ซึ่งต้องมองภาพรวมทั้งกระบวนการ
-          เพิ่มผลผลิตโดยวิธีขยายพื้นที่ ไม่ได้เน้นการสร้างรายได้ต่อหน่วยพื้นที่
-          ความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ป่าถูกทำลาย ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล
-     เกษตรกรไทย ยิ่งทำยิ่งจน กลายเป็นผู้ด้อยโอกาส ในประชากรทั้งหมดของประเทศขณะนี้เหลือภาคเกษตรเพียง 49% ของประชากรไทย ซึ่งมีเพียง 7% ของภาคเกษตรเท่านั้นที่แข่งขันได้ และอีก 20% ของภาคเกษตรเป็นผู้ด้อยโอกาส
                         ปัญหาด้านการตลาด  (ภายในประเทศ)
-          อำนาจต่อรองน้อย ขึ้นกับนายทุน
-          ช่องทางจำหน่ายมีน้อย ขึ้นกับพ่อค้าคนกลาง
-     ข้อมูลข่าวสารน้อย ไม่ทันเหตุการณ์  ในกรณีนี้รัฐควรเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลที่วิเคราะห์ / สังเคราะห์ แล้วให้กับเกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ให้ทันเหตุการณ์ และฝึกให้เกษตรกรคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เข้าใจวิธีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องตลาด
                         ปัญหาด้านยุทธศาสตร์
-     สินค้าเกษตรถูกกดราคาเพื่อให้ค่าครองชีพของคนเมืองต่ำลง เช่น ไข่ กลายเป็นสินค้าการเมือง  ถ้ารัฐบาลใดปล่อยให้ไข่ราคาสูง จะกลายเป็นตัวชี้วัดความล้มเหลวของรัฐบาล
-          ข้อมูลการตลาดไม่ชัดเจน และล่าช้า
               3. อุปสรรค
                          อุปสรรคด้านตลาดโลก
-     ผลกระทบจากการปฏิวัติเขียว ทำให้หลายประเทศในโลกมุ่งเน้นการรักษา Food Security ของตน  และไม่เปิดให้สินค้าเกษตรบางอย่างเข้าประเทศ
-     สิทธิกีดกันทางการค้า องค์กรต่างๆ  เช่น WTO มีระเบียบข้อบังคับมากมายที่มีผลต่อผลผลิตสินค้าเกษตรของไทย
                4. โอกาส
                              สภาพแวดล้อมภายนอกประเทศที่ส่งผลต่อประเทศไทยในด้านการผลิตและการตลาด สินค้าเกษตรในทางบวก ได้แก่สถานการณ์สากลที่เกื้อหนุน เช่น สภาวะสงคราม ความแห้งแล้ง หรือภูมิประเทศที่จำกัดทำให้เกิดความต้องการสินค้าประเภทอาหาร กระแสสังคมด้านการรักษาสุขภาพ ทำให้เน้นความปลอดภัยของสินค้าอาหารและบริโภค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น